วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สแกนเนอร์

สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
- ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
- บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
- แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
- เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ

ชนิดของเครื่องสแกนเนอร์
สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆ ไป ได้ 2 ชนิด คือ Flatbed scanners, ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMaker III Transparency and slide scanners, ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่น ฟิล์มและ สไลด์

การทำงานของสแกนเนอร์
การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกตินแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพมีดังนี้
- สแกนเนอร์
- สาย SCSI สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
- ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้ สแกนภาพตามที่กำหนด
- สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR
- จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
- เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์หรือสไลด์โปรเจคเตอร์

ระบบปฏิบัติการ window95 คืออะไร

ระบบปฏิบัติการ window 95 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การัดการเกี่ยวกับการแสดงบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การพิมพ์แฟ้มข้อมูล การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล การเก็บแฟ้มข้อมูล การติดตั้งโปรแกรม เป็นต้น

รูปแสดง หน้าจอของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95

การทำงานของวินโดวส์จะแสดงโดยใช้รูปภาพเล็ก ๆ หรือที่เราเรียกว่า ไอคอน (icon) สื่อความหมายตามคำสั่งของโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โปรแกรมวินโดวส์นี้ จะจำลองการทำงานบนจอภาพให้มีลักษณะเหมือนกับโต๊ะทำงาน คือ มีปฏิทินตั้งโต๊ะ นาฬิกา เครื่องคิดเลข หรืออาจมีเอกสารวางซ้อนทับกัน โดยโปรแกรมจะกำหนดให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบ และกรอบที่ว่าเรียกว่า หน้าต่าง สามารถเปิด-ปิด และยังสามารถเปิดงานขึ้นทำงานในขณะเดียวกันได้มากกว่า 1 งาน เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking)

คุณสมบัติของวินโดวส์ 95

1. หน้าต่างของ วินโดวส์ 95 ได้ปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย (new user interface) ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
2. วินโดวส์ 95 จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งใหม่และทำการกำหนดข้อมูลในระบบให้อย่างอัตโนมัติ (plug and play)
3. วินโดวส์ 95 สนับสนุนการทำงานแบบสื่อประสม โดยมีดปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องวีดีทัศน์ (video for windows) และแฟ้มข้อมูลในแผ่นซีดี (CD-ROM file system)
4. วินโดวส์ 95 มีระบบการด้านการติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ไม่ยุ่งยาก ระบบสนับสนุนการเชื่อมต่อสถานีปลายทางไปยังเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งสามารถต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ด้วย

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชนิดของเครือข่าย

เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

joomla คืออะไร

“Joomla!” โปรแกรม open source ที่เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Web Content Management Systems: CMS) ซึ่งถูกพัฒนาด้วย PHP และใช้ฐานข้อมูลของ MySQL ในการเก็บข้อมูล มีเทคนิคการเขียนโปรแกรมขั้นสูงภายใต้มาตรฐาน XHTML สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มที่รองรับ PHP และ mySQL ทั้งนี้ Joomla! ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทีมพัฒนาที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยระยะเริ่มต้น Joomla! ได้มุ่งเน้นเพื่อใช้ในการพัฒนา Coporate Website หรือเว็บไซต์ของบริษัทและองค์กรต่างๆ รวมไปถึงเว็บ Intranet ภายในหน่วยงาน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความสวยงามของรูปแบบที่ดูเป็นสากล รวมถึงความง่ายต่อการใช้งานของทั้งผู้พัฒนาและผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจาก CMS ทั่วไป ตรงที่คุณสามารถออกแบบและสร้างหน้าตาของเว็บไซต์ (Template) ได้ตามต้องการ

และเนื่องจากการพัฒนา Joomla! ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีเครื่องมือเสริมหลายตัวที่ช่วยในการนำไปใช้สร้างเว็บไซต์ได้หลายประเภทมากขึ้น อาทิ การสร้างเว็บไซต์เชิงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce การสร้างเว็บท่า (Portals) การสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็น Community และเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้

หากคุณต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ แต่ไม่เคยรู้ว่าจะทำได้อย่างไร Joomla! สามารถช่วยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมอย่าง HTML, XML, DHTML, PHP หรือแม้แต่ mySQL ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเนื้อหา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการแก้ไขโปรแกรม รวมถึง Joomla! ยังไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของการออกแบบ ทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ของคุณได้สวยงามตามต้องการ

ประสิทธิภาพและความสามารถของ Joomla!

ประโยชน์หลักของ “Joomla!” คือ การทำให้คุณสามารถจัดการกับเนื้อหาหรือข้อความ (Content) ได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บ โดยผู้บริหารเว็บหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเช่น HTML ในการอัพเดทเว็บ เพราะ Joomla! มี editor ออนไลน์ เช่น WYSIWYG editor ไว้เพื่อการจัดรูปแบบข้อความตัวอักษร (Text) และรูปภาพ ยิ่งกว่านั้นคุณไม่จำเป็นที่ต้องอัพโหลดเอกสารด้วยโปรแกรม FTP เพียงแค่คลิกปุ่ม save หรือ apply หน้าเว็บของคุณก็จะออนไลน์เตรียมพร้อมรับผู้เข้าชมที่จะเข้ามาดูในเว็บของคุณได้ทันที

เราสามารถใช้ Joomla! กับเว็บไซต์ได้หลากหลายประเภท เช่น
• เว็บท่า (Portals)
• เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ (Commercial web sites)
• เว็บไซต์ที่ใช้ในองค์กร (Intranet web sites)
• เว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไร (Non-Profit web sites)
• เว็บไซต์ส่วนตัว (Personal web sites)
• เว็บไซต์ที่สร้างจาก Flash (Integrated flash sites)

นอกจากนี้ Joomla! ยังสามารถใช้งานได้หลายอย่าง เช่น
• อัพเดทเว็บไซต์ด้วยข่าว บทความ และรูปภาพ
• ง่ายต่อการสร้างเนื้อหาของคุณด้วยเมนู เช่น ผลิตภัณฑ์ > ฮาร์ดแวร์ > เครื่องเล่นดีวีดี หรือ ผลิตภัณฑ์ > ฮาร์ดแวร์ > เครื่องเล่นซีดี
• อัพโหลด MS Word, MS Excel และ Acrobat PDF เพื่อให้ดูเอกสารได้
• จัดการ Banner เช่น โฆษณา
• สร้างโพล (แบบสำรวจ)
• จัดการเว็บลิงค์
• จัดการ FAQ
• จัดการข่าวที่อยู่ในรูป flash
• จัดการกับ multi media flash, และไฟล์รูปภาพ .jpg, pif, bmp และ .png
• จัดการกับการป้อนข่าวจากแหล่งข่าวที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ
• จัดการกับ contact และ อีเมล์ จากหน้าต่างๆ
• ให้ระดับการเข้าถึงข้อมูล (access) กับผู้ใช้
• จัดการหน้า Archive
• จัดการ components, modules และ templates ที่พัฒนาขึ้นมาเพิ่มเติม เช่น e-commerce, forums, รูปภาพ, ปฏิทิน และกำหนดการ, help desk เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ




เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon

การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย


แรม (RAM)




RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access
Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM

CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD

เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk-RW
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ


ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน

- IDE (Integrated Drive Electronics) เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด




Harddisk แบบ IDE







IDE Cable

- SCSI (Small Computer System Interface)เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง







Harddisk แบบ SCSI








SCSI controller

- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน



Harddisk แบบ Serial ATA

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ในเมนบอร์ด

อุปกรณ์ภายในที่สำคัญควรรู้จักเพื่อเลือกซื้อ
ภายใน case (เคส) จะมีอุปกรณ์สำคัญหลายอย่าง คือ
๑.CD-ROM Drive เครื่องเล่น CD (หรือ DVD)
๒.Floppy disk drive เครื่องอ่านและบันทึกแผ่น floppy disk
๓.Power supply แหล่งจ่ายไฟ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ๙ โวลต์
๔.Motherboard (Mainboard) แผงวงจรใหญ่ที่เสียบไมโครชิปต่างๆและต่อสายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
๕.VGA Card การ์ดจอ มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๖.LAN Card การ์ดแลน มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๗.Sound Card การ์ดเสียง มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๘.RAM Card มีลักษณะเป็นแผ่นไมโตรชิปมาเสียบอยู่ที่ Mainboard
๙.CPU คือไมโครชิปรูปสี่เหลี่ยม ที่ติดอยู่กับ Mainboard และมีพัดลมเล็กๆติดอยู่ด้วย
๑๐.Hard Disk Drive คือกล่องโลหะสี่เหลี่ยมแบนๆใช้เก็บข้อมูลต่างๆของเครื่อง

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อาการของเครื่องที่ติดไวรัส

สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่

§ ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน

§ ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น

§ วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป

§ ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ

§ เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ

§ เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่

§ แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย

§ ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้

§ ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น

§ ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป

§ เครื่องทำงานช้าลง

§ เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง

§ ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ

§ เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่

§ ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย

ไวรัสคืออะไร

ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว

จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

การติดต่อสื่อสาร
อินเทอร์เน็ตช่วยให้เราติดต่อกับคนมากมายทั่วโลกได้ด้วยความรวดเร็วกว้างขวาง ในราคาประหยัด ด้วยอีเมล์ เราสามารถส่งข่าวสารข้ามขอบฟ้าถึงผู้รับ ได้ภายในเวลา 2-3 วินาที โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ การแช็ตหรือเว็บบอร์ด ทำให้เราได้เพื่อนใหม่ต่างเชื้อชาติต่างภาษา แต่มีมุมมองและความสนใจร่วมกัน หลายๆ องค์กรใช้อินเทอร์เน็ตโยงใยผู้คนที่เขาติดต่อด้วย เพื่อประโยชน์ทางการ ศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ

การศึกษา
นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าไปค้นคว้าหาความรู้มากมายได้จากแหล่งข้อมูลขนาดมหึมาบนอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์บางแห่งออกแบบมา เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ กล่าวคือ มีเนื้อหาและแบบฝึกหัดเสริมบทเรียน มีครูผู้เชี่ยวชาญมาคอยตอบข้อซักถาม มีแช็ตรูมที่ถูกใช้เป็นเวทีอภิปรายในหัวข้อทางด้านการเรียน ักเรียนต่างโรงเรียนสามารถทำโครงงานร่วมกันได้ โดยใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อ อินเทอร์เน็ตช่วยเปิดโลกการเรียนรู้ ไม่ให้จำกัดอยู่ที่ห้องเรียนและตำราเรียน

ธุรกิจการพาณิชย์
อินเทอร์เน็ตช่วยให้เรามีลูกค้าจากทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องเปิดร้าน
ในต่างประเทศจริงๆ ท่านอาจได้ยินชื่อเว็บไซต์ปลาร้าดอตคอม ส่งออกปลาร้า กระป๋องไปขายในหลายสิบประเทศทั่วโลก โดยใช้หน้าร้านบนอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางโฆษณาสินค้า เว็บไซต์ชื่อดังอย่าง อเมซอนดอตคอม ทำรายได้ จากการขายหนังสือให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเดือนละหลายล้านดอลล่าร์ เว็บไซต์ เพื่อการท่องเที่ยวของไทยอีกหลายแห่ง ก็ทำเงินเข้าประเทศปีละไม่น้อยเช่นกัน

การบันเทิง
อินเทอร์เน็ตถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านบันเทิงด้วย มีสถานที่พักผ่อน
หย่อนใจมากมายบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพวาด สวนสนุกเสมือน เว็บไซต์เกม เว็บไซต์เพลง รายการหรือข่าวสารพันบันเทิงของสถานีดัง รวมเรื่องขำขัน รวมภาพ หรือวิดีโอตลก ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

6วิธีแก้เครียด

ยิ้ม การยิ้มเป็นภาษากายที่ดีที่สุด เป็นการเปิดประตูของหัวใจรับความสุขและให้ความสุขแก่ผู้อื่น และชื่นชมตัวเองได้ด้วย จงคิดว่าเรายิ้มให้กับความดีของคนอื่น จงยิ้มอย่างสดชื่น อารมณ์ดีมีชีวิตชีวา

อย่ากังวล ความกังวลเกิดจากความคาดหวัง อยากจะได้ในสิ่งที่เป็นได้ยาก และใจจะคิดอยากได้อยู่เสมอ เมื่อหมดความแสวงหา ลดความต้องการ ลดความอยากได้ลง ก็จะได้ไม่เครียดและเป็นทุกข์ต่อไป

ความระแวง ความระแวงทำให้เป็นโรคเหงา คบใครๆ ก็ไม่สนิทสนมจากใจจริงและรู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น ต้องทำอดีตให้เป็นอดีต อย่าทำอดีตให้เป็นปัจจุบันและกลัวอนาคต "เลิกคิดเถิด ความระแวง มะเร็งของความสุขของมนุษย์"

ความโกรธ ความโกรธเป็นอารมณ์ที่น่ากลัวและรุนแรงที่สุด การลดความโกรธมีหลายอย่าง เช่น การทำงานให้มากขึ้น ออกกำลังกาย สนใจศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติ เดินทางท่องเที่ยว ดนตรี เล่นกีฬา

อารมณ์ขัน อารมณ์ขันนี้เป็นยาวิเศษที่ทำให้มีความสุข ผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้เกิดมิตรภาพ มีความสนุกสนานและบรรยากาศรอบๆ ตัวจะสุนทรีย์ ลดตัวเองสู่ความเป็นเด็กได้ มองโลกในแง่ดี รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่นได้

คาถาคลายเครียด "ช่างมัน" มนุษย์หนีความเครียดไม่พ้นหรอก บางคนมีมาก บางคนมีน้อย ความเครียดจึงทำให้ไม่เป็นสุข ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไป และสิ้นสุดได้ทั้งนั้น เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวาง หรือ "ช่างมัน" เมื่อรู้อย่างนี้แล้วใครอยากจะเครียดนานๆ ก็ตามใจ นอกจากไม่มีความสุขแล้วยังแก่เร็ว ป่วยบ่อยๆ ด้วย

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"





คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"





คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้